Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

Five Force Model คืออะไร ? ทำไมสำคัญต่อการเริ่มต้นธุรกิจ

Five Force Model คืออะไร ? ทำไมสำคัญต่อการเริ่มต้นธุรกิจ

ถ้าจะให้ยกตัวอย่าง “สิ่งจำเป็น” ในการทำธุรกิจ ทุกคนจะนึกถึงอะไรกันบ้าง ?

หลายคนอาจตอบว่า น่าจะเป็นเรื่องของการสร้างแบรนด์ การพัฒนาสินค้าและบริการ หรือการเลือกช่องทางการขายที่เหมาะสม แต่รู้หรือไม่ว่านอกจากปัจจัยเหล่านี้ ยังมีอีกหนึ่งเรื่องที่คนทำธุรกิจไม่ควรมองข้าม นั่นก็คือ “ความสามารถในการแข่งขัน” ที่ผู้ประกอบการต้องวิเคราะห์ให้แม่นยำ เพราะสิ่งนี้คือสิ่งที่สามารถบอกได้ว่า ธุรกิจนี้น่าทำหรือไม่ 

บทความนี้ชวนมารู้จักกับ “Five Force Model” ซึ่งก็คือเครื่องมือวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ มาดูกันว่า Five Force Model มีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างธุรกิจให้เห็นภาพกันแบบชัด ๆ และนอกจากการวิเคราะห์ Five Force Model แล้ว การวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดเชิงลึก นับเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด ซึ่งสามารถทำได้ด้วยเครื่องมือ Mandala Analytics จาก Mandala AI เพื่อให้การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย อัปเดตเทรนด์ใหม่ ๆ และสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดหรือแคมเปญที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

เข้าใจทุกความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ด้วย Mandala AI

Five Force Model คืออะไร ?

Five Force Model คือเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ เพื่อหาขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ โดยเป็นโมเดลที่คิดค้นโดย Michael E. Porter นักวิชาการด้านกลยุทธ์ที่มีชื่อเสียงชาวอังกฤษ โดยโมลเดลนี้ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถประเมินความเสี่ยงในการเริ่มต้นทำธุรกิจและการแข่งขันในตลาดของอุตสาหกรรมนั้น ๆ ก่อนตัดสินใจลงมือทำ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างกลยุทธ์ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เรียนรู้วิธีการรับมือ การเอาชนะคู่แข่ง และแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดที่เหมาะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 

Five Force Model มีอะไรบ้าง ?

หลังจากที่ได้ทำความรู้จักกับ “Five Forces Model” กันไปเบื้องต้นแล้ว เรามาเจาะลึกลงรายละเอียดกันต่อว่า Five Forces Model มีอะไรบ้าง เพราะการทำธุรกิจไม่ใช่แค่เรื่องของการผลิตสินค้า หรือการให้บริการที่มีคุณภาพเท่านั้น แต่การที่จะทำธุรกิจได้นั้น ผู้ประกอบการต้องวิเคราะห์สิ่งสำคัญเหล่านี้ให้เป็นก่อนที่จะลงมือทำ 

อำนาจต่อรองของลูกค้า (Bargaining Power of Buyers)

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ‘ลูกค้า’ ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการวัดความสำเร็จของการทำธุรกิจท่ามกลางการแข่งขันที่สูง โดยผู้ค้าจำเป็นต้องเรียนรู้ว่าลูกค้าของตนคือใคร ต้องการอะไร เนื่องจากในการทำธุรกิจไม่ว่าจะอุตสาหกรรมใดก็ตามลูกค้าย่อมมีอำนาจในการต่อรอง เพื่อให้ได้สิ่งที่ตนเองต้องการอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการขอให้ ลด แลก แจก หรือแถม 

โดยเฉพาะหากในตลาดที่มีสินค้าแบบเดียวกันให้เลือกหลายแบรนด์ หรือมีสินค้าที่สามารถทดแทนกันได้หลากหลาย อำนาจในการต่อรองของลูกค้าย่อมมีมาก ในทางกลับกันหากตัวเลือกของสินค้ามีน้อย อำนาจในการต่อรองของลูกค้าย่อมมีน้อยตามไปด้วย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่ออำนาจการต่อรองของลูกค้า เช่น การซื้อสินค้าในปริมาณมากของลูกค้า ดังนั้นผู้ประกอบการที่ตัดสินใจทำธุรกิจจึงต้องศึกษาอำนาจต่อรองของกลุ่มลูกค้าให้ดีก่อนทุกครั้ง 

อำนาจของซัพพลายเออร์ (Bargaining Power of Suppliers)

นอกจากผู้ซื้อจะมีอำนาจในการต่อรองแล้ว ‘ซัพพลายเออร์’ ผู้ซึ่งมีหน้าที่ในการส่งวัตถุดิบในการผลิตสินค้า หรือให้บริการ ยังมีผลต่อการสร้างกำไรในการทำธุรกิจของผู้ประกอบการอีกด้วย เนื่องจากหากในตลาดมีจำนวนซัพพลายเออร์ที่ผลิตวัตถุดิบชนิดนั้นน้อย ก็ทำให้อำนาจของซัพพลายเออร์มีมาก และส่งผลต่อต้นทุนการผลิตได้ เพราะผู้ประกอบการอาจต้องซื้อวัตถุดิบในราคาที่สูง เพราะฉะนั้นหากธุรกิจที่กำลังจะทำมีแนวโน้มเป็นไปตามลักษณะนี้ ผู้ประกอบการควรมีกลยุทธ์ในการซื้อสินค้าทีละมาก ๆ ต่อครั้ง เพื่อให้ได้ราคาของวัตถุดิบที่ถูกลง หรือหาวัตถุดิบที่เป็นทางเลือกมาใช้ทดแทน

อุปสรรคจากคู่แข่งรายใหม่ (Threat of New Entry)

การทำธุรกิจย่อมมีการแข่งขันอยู่เสมอ โดยที่ผู้ประกอบการอาจต้องเผชิญกับคู่แข่งรายใหม่ทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดที่เคยได้รับลดน้อยลงไป ดังนั้นเราควรจะต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า มอบสินค้าหรือการบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี รวมถึงสร้างความแตกต่างของสินค้าและบริการเพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้า จนทำให้เกิดความพึงพอใจที่เหนียวแน่นได้ อีกทั้งนำทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งของคู่แข่ง มาศึกษาเพื่อปรับปรุงและพัฒนาสินค้าของแบรนด์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

อุปสรรคจากสินค้าทดแทน (Threat of Substitute Products)

ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน ถือเป็นสิ่งที่สร้างผลกระทบให้แก่การทำธุรกิจในระยะยาวได้อย่างน่ากังวล เนื่องจากสินค้าทดแทนนั้นเป็นสินค้าที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่คล้ายกัน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นสินค้าประเภทเดียวกันเสมอไป เช่น เนื้อหมูกับเนื้อไก่ น้ำอัดลม Coca-Cola และ Pepsi น้ำมันพืชจากปาล์มกับน้ำมันจากดอกทานตะวัน ที่สามารถใช้ทดแทนกันได้ เพราะฉะนั้นการวิเคราะห์ Five Force Model จากสินค้าตัวอย่างจึงทำให้นักธุรกิจสามารถมองเห็นผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ และทำให้ผู้ประกอบการตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างแบรนด์ให้มีความแตกต่าง มีความเป็นเอกลักษณ์ เพื่อสร้างความภักดีต่อแบรนด์ของกลุ่มลูกค้าได้ในที่สุด

การแข่งขันในอุตสาหกรรม (Industry Rivalry)

การมีคู่แข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกันจำนวนมาก ย่อมมีผลกระทบหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านราคา การทำการตลาดหรือโฆษณา รวมถึงการจัดทำโปรโมชันต่าง ๆ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ เสี่ยงต่อการสูญเสียโอกาสในการสร้างผลกำไรจากการขายสินค้าได้ ฉะนั้นผู้ประกอบการควรหาจุดแข็งหรือจุดเด่นของธุรกิจให้เจอ พร้อมกับการวางกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างรัดกุม เพื่อสร้างอัตราการเติบโตของธุรกิจได้ในระยะยาว 

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถทำความเข้าใจลูกค้า และวิเคราะห์การตลาดแบบเชิงลึกได้ ด้วยการใช้เครื่องมือทางการตลาดอย่าง Mandala Analytics จาก Mandala AI เพื่อนำไปสู่การสร้างกลยุทธ์และแคมเปญทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ

เข้าใจทุกความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ด้วย Mandala AI
ทีมงานกำลังร่วมมือกันเพื่อวิเคราะห์ five force model ว่ามีอะไรบ้าง

Five Force Model กับตัวอย่างธุรกิจที่น่าสนใจ

หลังจากทำความรู้จักกับ Five Force Model ว่าคืออะไร และประกอบด้วยอะไรบ้างไปแล้ว เราลองมาวิเคราะห์ Five Force Model ตัวอย่างธุรกิจที่สนใจกันบ้าง 

ธุรกิจที่มีอำนาจต่อรองสูงกว่าผู้บริโภค

Apple บริษัทยักษ์ใหญ่แบรนด์สัญชาติอเมริกัน ถือเป็นธุรกิจที่มีอำนาจต่อรองสูงกว่าผู้บริโภค เนื่องจากคุณภาพของสินค้าที่ได้รับการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย มาพร้อมกับ iCare Service ที่รองรับการให้บริการสนับสนุนหากเกิดปัญหาจากการใช้งานด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ จนกลายเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม และมีฐานลูกค้าจำนวนมากที่ Loyalty กับแบรนด์ ด้วยเหตุนี้ Apple จึงสามารถกำหนดราคาขายสูงและมีอำนาจในการต่อรองกับลูกค้าได้มากนั่นเอง 

ธุรกิจมีอำนาจต่อรองสูงกว่าซัพพลายเออร์

บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มขนาดใหญ่ มักมีอำนาจต่อรองสูงกว่าซัพพลายเออร์ เพราะสามารถเลือกใช้วัตถุดิบจากแหล่งอื่น ๆ ได้ เช่น โรงงานแปรรูปอาหาร เกษตรกร เป็นต้น 

กรณีธุรกิจมีการแข่งขันน้อย

สำหรับกรณีของอุตสาหกรรมที่คู่แข่งน้อย ได้แก่ พวกอุตสาหกรรมปิโตรเลียม หรือน้ำมัน พลังงานเชื้อเพลิง เนื่องจากจำนวนผู้ประกอบการที่น้อยราย ส่งผลให้จำนวนคู่แข่งน้อยลง เพราะอุตสาหกรรมเหล่านี้มีการใช้เงินลงทุนที่ค่อนข้างสูง ตั้งแต่การลงทุนในโรงกลั่นน้ำมัน โรงงานปิโตรเคมี รวมถึงการขุดเจาะแหล่งน้ำมันและก๊าซ เป็นต้น 

นอกจากเครื่องมือ Five Force Model แล้ว อีกหนึ่งเครื่องมือที่จะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์ภาพรวมของธุรกิจและคู่แข่งได้ ก็คือการทำ Market Research หรือการวิจัยตลาด ที่จะช่วยให้ธุรกิจคว้าโอกาสเติบโตได้เหนือคู่แข่งได้อย่างมั่นใจ ถ้าอยากรู้ว่า Marketing Research คืออะไร ไปทดลองใช้เครื่องมือทางการตลาดจาก Mandala AI ฟรีกันได้เลย เพื่อให้คุณรู้ทุกข้อมูล Insught ที่สำคัญแบบเรียลไทม์ และวางแผนการตลาดที่ตอบโจทย์อย่างตรงจุดที่สุด

เข้าใจทุกความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ด้วย Mandala AI
Blog Conversion Banner
  • หมวดหมู่ :
สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.