หากคุณมีความคิดอยากจะเริ่มต้นทำธุรกิจหรือการขยายธุรกิจที่มีอยู่แล้ว การทำความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการวางแผนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน ซึ่งการทำ Market Research หรือ การวิจัยทางการตลาด คือ กระบวนการที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการและผู้บริหารธุรกิจเข้าใจความต้องการและพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการเข้าถึง นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ประกอบการ มีทักษะในการจัดการกับความเปลี่ยนแปลงของตลาดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย
Market Research คืออะไร
Market Research คือ การวิจัยตลาด เป็นกระบวนการสำรวจตลาด (Marketing Survey) และรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาทำ Marketing Analytics คือ การวิเคราะห์ทางการตลาดเกี่ยวกับตลาดและผู้บริโภค เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าใจความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างลึกซึ้ง โดยข้อมูลที่ได้มานี้จะถูกนำไปใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุดนั่นเอง
นอกจากนี้ การวิจัยทางการตลาดยังต่อยอดถึงการทำ Market Overview คือ การวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดโดยรวมด้วย ซึ่งช่วยให้ธุรกิจสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดและความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม
ทำไมถึงต้องทำ Market Research
การวิจัยตลาดมีความสำคัญต่อธุรกิจทุกประเภท เพราะบริษัทจะได้ข้อมูลสำคัญเฉพาะของตนเอง เพื่อช่วยในการตัดสินใจดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การวางแผนการตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การทำการตลาดแบบเน้นกลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น และนี่คือ 5 เหตุผลว่าทำไมถึงต้องทำ Market Research

- ช่วยให้ธุรกิจเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพราะข้อมูลที่ได้มาจะช่วยให้ธุรกิจสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคในอนาคต
- ช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภค ตั้งแต่การรับรู้ การตัดสินใจซื้อ ไปจนถึงพฤติกรรมหลังการซื้อ โดยข้อมูลที่ได้มานั้นจะช่วยในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างตรงความต้องการมากที่สุด
- ช่วยให้ธุรกิจสามารถประเมินศักยภาพของตลาดได้ เพราะข้อมูลที่ได้มาจะสามารถนำมาวางแผนขยายธุรกิจ หรือปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้เหมาะสมกับตลาดปัจจุบันได้
- ช่วยให้ทราบถึงแนวโน้มของตลาด ทั้งในด้านความต้องการ พฤติกรรม และเทคโนโลยี ส่งผลให้ธุรกิจสามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย
- ช่วยให้ธุรกิจมีข้อมูลเชิงลึกที่เพียงพอ สำหรับการตัดสินใจดำเนินการทางธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำ Market Research หาจุดแข็งจุดด้อยของคู่แข่ง เพื่อหาช่องโหว่ทางธุรกิจ อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดความเสี่ยง และเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น
ประเภท Market Research มีอะไรบ้าง
ประเภทของ Market Research แบ่งออกตามวิธีรวบรวมข้อมูล ซึ่งวิธีการรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภทนั้น หลัก ๆ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. การวิจัยขั้นปฐมภูมิ (Primary Research)
คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่ด้วยตัวเอง จากบุคคลหรือกลุ่มคนที่เป็นเป้าหมายของธุรกิจ และยังสามารถแบ่งตามลักษณะของข้อมูลที่จัดเก็บได้อีก 3 ประเภท หลัก ๆ ได้แก่
1.1 การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นประเภทของการวิจัยทางการตลาดที่มุ่งเน้นไปที่การรวบรวมข้อมูลเชิงตัวเลขทางสถิติ เช่น ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน เน้นเก็บข้อมูลจากคนจำนวนมาก แล้วนำมาวิเคราะห์ หาข้อสรุปเพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับตลาดและผู้บริโภค เช่น พฤติกรรมการซื้อ ทัศนคติ และความพึงพอใจ ผ่านวิธีการสำรวจความคิดเห็น (Market Survey) การวิจัยทางสถิติ (Statistical Analysis) เป็นต้น
- การส่งอีเมล์ (Email Survey): ช่องทางที่ยิบมใช้มาอย่างยาวนานในการสำรวจความคิดเห็น ก่อนนำไปต่อยอดในการวางแผนแคมเปญต่อไป
- การโทรสำรวจผ่านโทรศัพท์ (Telephone Survey): ทำได้อย่างรวดเร็ว แต่มีข้อจำกัดที่ยาวมากไม่ได้ และมีเรื่องเกี่ยวกับโทนเสียงเข้ามาเกี่ยวข้อง
- การทำ Social Listening: วิธีที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เพื่อวิเคราะห์เสียงตอบรับจากลูกค้าบนโลกโซเชียลมีเดีย และมองเห็นภาพรวมของตลาดได้ชัดเจนขึ้น
1.2 การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นประเภทของการวิจัยทางการตลาดที่มุ่งเน้นไปที่การรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ เพื่อเข้าใจความคิด ความรู้สึก และประสบการณ์ของผู้บริโภค ข้อมูลเชิงคุณภาพมักถูกรวบรวมโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น
- การสัมภาษณ์ (Interview)
- การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview)
- การสัมภาษณแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview)
- การสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview)
- การวิจัยกลุ่ม (Focus Group): เป็นการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความคิดเห็น ทัศนคติ และประสบการณ์ของผู้บริโภค โดยการเชิญผู้บริโภคกลุ่มเล็ก ๆ มาพูดคุยกันภายใต้การกำกับดูแลของ Moderator เช่น การวิจัยกลุ่มเพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภค เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่
- การกำหนดตัวแทนของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่มีความต้องการและพฤติกรรมคล้ายคลึงกัน (Customer Persona): ซึ่งเป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าเป้าหมาย เช่น ข้อมูลประชากรศาสตร์ ความสนใจ พฤติกรรมการซื้อ และเป้าหมายที่ลูกค้าต้องการ เพื่อช่วยให้ธุรกิจเข้าใจลูกค้าเป้าหมายได้ดีขึ้น โดยข้อมูลที่ได้มาจะนำไปใช้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ใช้ปรับแต่งกลยุทธ์การตลาด เพื่อให้ตรงกับความต้องการและความสนใจของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายนั่นเอง
1.3 การสังเกตการณ์ (Observation) เป็นประเภทของการวิจัยทางการตลาดที่มุ่งเน้นไปที่การรวบรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยการสังเกตพฤติกรรมของผู้บริโภคในสภาพแวดล้อมจริง โดยไม่รบกวนหรือแทรกแซงพฤติกรรมเหล่านั้น แบ่งออกเป็น
- การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (Participant Observation): เป็นการสังเกตการณ์ที่ผู้สังเกตการณ์เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของกลุ่มเป้าหมาย เช่น ผู้สังเกตการณ์อาจเข้าไปทำงานในร้านขายของ เพื่อสังเกตพฤติกรรมของพนักงานขาย
- การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participant Observation): เป็นการสังเกตการณ์ที่ผู้สังเกตการณ์ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของกลุ่มเป้าหมาย เช่น ผู้สังเกตการณ์อาจนั่งสังเกตพฤติกรรมของผู้บริโภคในร้านขายของ
2. การวิจัยขั้นทุติยภูมิ (Secondary Research)
คือ การใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้ว เช่น ข้อมูลทางสถิติจากหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน รายงานข่าว บทความทางวิชาการจากวารสาร ข้อมูลจากเว็บไซต์ หรือแหล่งข้อมูลออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งมักถูกใช้เป็นขั้นตอนเริ่มต้นของการทำ Market Research เพื่อรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับตลาดและอุตสาหกรรม และข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้ เพื่อกำหนดขอบเขตของการวิจัยขั้นปฐมภูมิ รวมถึงใช้ระบุคำถามวิจัยเฉพาะที่ต้องตอบได้ด้วย
ขั้นตอนการทำวิจัยตลาดที่มีคุณภาพ
หากต้องการทำวิจัยการตลาดให้มีคุณภาพนั้น สามารถทำได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

1. กำหนดวัตถุประสงค์
ขั้นตอนแรกในการทำวิจัยตลาด คือ การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยวัตถุประสงค์ของการวิจัยควรชัดเจนและวัดผลได้ เช่น เพื่อระบุโอกาสทางการตลาดใหม่ ๆ เพื่อประเมินการแข่งขัน เพื่อเข้าใจความต้องการของลูกค้าเป้าหมาย
2. กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนเพื่อข้อมูลที่เเม่นยำ
การกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน จะช่วยให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำและเป็นประโยชน์ สามารถรวบรวมข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงประเด็นมากขึ้น ซึ่งการกำหนดกลุ่มเป้าหมายควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น
- ข้อมูลประชากรศาสตร์ เช่น อายุ เพศ รายได้
- การศึกษา
- อาชีพ
- ความสนใจและความต้องการ
- พฤติกรรมการซื้อ
3. ออกแบบคำถามและตั้งข้อสงสัย
เมื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการออกแบบคำถามและตั้งข้อสงสัย คำถามและข้อสงสัยควรมุ่งเน้นไปที่วัตถุประสงค์ของการวิจัยตลาด และในการออกแบบคำถามและตั้งข้อสงสัยนั้น ควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น
- ชัดเจนและเข้าใจง่าย
- ครอบคลุมประเด็นที่ต้องการทราบ
- หลีกเลี่ยงคำถามที่ชี้นำ
4. เลือกแหล่งข้อมูลวิจัย
ก่อนเก็บข้อมูลนั้นจะต้องเลือกแหล่งข้อมูลวิจัยก่อน ว่าต้องการเลือกแหล่งไหน ระหว่างข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ
5. ออกแบบเครื่องมือและรวบรวมข้อมูล
เมื่อตัดสินใจได้แล้วว่าจะเลือกแหล่งข้อมูลวิจัยแบบไหน จากนั้นก็จะต้องออกแบบเครื่องมือพร้อมทำการรวบรวมข้อมูล ซึ่งสามารถทำได้ทั้ง Online และ Offline
- แหล่งข้อมูลแบบ Online เช่น เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ รวมไปถึงการใช้เครื่องมือ Social Listening ของ Mandala ที่ทำให้ง่ายต่อการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายจำนวนมาก
- แหล่งข้อมูลแบบ Offline เช่น การสัมภาษณ์ การสำรวจทางไปรษณีย์ การสังเกตการณ์ เป็นต้น
6. วิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการทำ Market Research โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจะช่วยให้สามารถเข้าใจข้อมูลและนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนกลยุทธ์การตลาดต่อไป ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลจะต้องพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
- ความถูกต้อง (Accuracy) ข้อมูลต้องมีความถูกต้องและแม่นยำ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมั่นใจ
- ความสมบูรณ์ (Completeness) ข้อมูลต้องครบถ้วนทุกแง่มุม เพื่อให้สามารถเข้าใจข้อมูลได้อย่างสมบูรณ์
- ความเกี่ยวข้อง (Relevance) ข้อมูลต้องมีความเกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อวัตถุประสงค์ในการทำ Market Research
- ความน่าเชื่อถือ (Reliability) ข้อมูลต้องมีความน่าเชื่อถือ เพื่อให้สามารถนำไปอ้างอิงได้
7. เตรียมรายงานผลการวิจัย
การรายงานผลการวิจัยที่ดีจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจข้อมูลและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ การนำเสนอข้อมูลต้องครบถ้วน ถูกต้อง และกระชับ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจข้อมูลได้ง่าย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ อาจใช้ตารางหรือกราฟช่วยในการนำเสนอข้อมูล และต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนเผยแพร่ด้วย ซึ่งการรายงานผลการวิจัยควรประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
- บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary) เป็นส่วนสรุปย่อของรายงานผลการวิจัย ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจข้อมูลโดยรวมได้อย่างรวดเร็ว
- บทนำ (Introduction) เป็นส่วนที่อธิบายวัตถุประสงค์และขอบเขตของการทำ Market Research
- วิธีการวิจัย (Methodology) เป็นส่วนที่อธิบายวิธีการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัย (Results) เป็นส่วนที่นำเสนอผลการวิจัยอย่างละเอียด
- ข้อเสนอแนะ (Recommendations) เป็นส่วนที่เสนอแนะแนวทางการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์
โดยการเตรียมรายงานผลการวิจัยอย่างรอบคอบนี้ จะช่วยให้สามารถสื่อสารผลการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะนำไปสู่การตัดสินใจทางการตลาด ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนกลยุทธ์สินค้า การพัฒนาสินค้า ฯลฯ ที่ถูกต้องและเหมาะสมนั่นเอง
ตัวอย่างการใช้ Mandala AI เครื่องมือทำวิจัยทางการตลาด
สถานการณ์: แบรนด์กาแฟต้องการวิเคราะห์ความคิดเห็นเกี่ยวกับรสชาติและคุณภาพของกาแฟในตลาด
ขั้นตอนการวิเคราะห์:
- คำค้นหา: เพิ่มคำว่า “กาแฟรสชาติดี,” “กาแฟสดใหม่,” และ “กาแฟออร์แกนิก”
- รวบรวมข้อมูล: Mandala จะทำการเก็บข้อมูลจากโพสต์ในโซเชียลมีเดีย (เช่น Facebook, Twitter, Instagram), รีวิวจากบล็อกที่เกี่ยวข้องกับกาแฟ, และความคิดเห็นในฟอรั่มหรือเว็บไซต์รีวิว เช่น Reddit หรือ Pantip กำหนดช่วงเวลาที่ต้องการวิเคราะห์ เช่น 3 เดือนที่ผ่านมา เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ทันสมัยและเกี่ยวข้อง
- วิเคราะห์กราฟ: นักการตลาดจะเห็นกราฟแสดงความถี่ของคำว่า “อร่อย,” “กลิ่นหอม,” และ “ราคา” ที่ผู้บริโภคพูดถึง
- ผลลัพธ์: พบว่าคำว่า “ราคา” ถูกพูดถึงบ่อย ๆ ในเชิงลบ ขณะที่ “กลิ่นหอม” เป็นคำบวกที่ได้รับความนิยม
- การตัดสินใจ: แบรนด์อาจพิจารณาลดราคาโปรโมชันในระยะสั้นหรือปรับกลยุทธ์การตลาดเพื่อเน้นความหอมและคุณภาพของกาแฟ
- ติดตามผล: หลังจากดำเนินการตามกลยุทธ์ใหม่ ควรใช้ Mandala เพื่อติดตามความคิดเห็นอีกครั้งในช่วงเวลาหลังจากการเปลี่ยนแปลง เพื่อดูว่ามีการปรับปรุงในความคิดเห็นของผู้บริโภคหรือไม่
ทำ Market Research วางกลยุทธ์ได้แม่นยำขึ้นกว่าใคร
จะเห็นได้ว่าการทำ Market Research มีประโยชน์มากมายต่อธุรกิจทุกขนาด ไม่ว่าจะเป็น ช่วยให้เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย เข้าใจสถานการณ์ตลาด ช่วยในวางกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจ และตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างแม่นยำ แล้วทีนี้คุณเห็นประสิทธิภาพของการทำวิจัยทางการตลาดแล้วหรือยัง? เข้าถึงข้อมูลเชิงลึกในอุตสาหกรรมของคุณโดยเฉพาะ ด้วย Mandala AI. เพื่อการทำ Social Media Market Research วางกลยุทธ์ได้แม่นยำกว่าเดิม