Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

Tagline คืออะไร แตกต่างกับ Slogan อย่างไร

Tagline คืออะไร แตกต่างกับ Slogan อย่างไร

เชื่อว่าหลายคนคงเคยสัมผัสประสบการณ์ที่เรียกว่า คุ้นหู คุ้นตา คุ้นเคย ต่าง ๆ อยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นการเคยไปเที่ยวแล้วรู้สึกคุ้นตา ได้ยินเสียงดนตรีก็รู้สึกคุ้นหู หรือกินอาหารเมนูใหม่ ๆ แล้วรู้สึกคุ้นรสชาติ ประสบการณ์เหล่านี้ ได้ถูกนำมาใช้ในทางการตลาดแทบทั้งสิ้น ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือการใช้คำคุ้นตา หรือที่เรียกกันว่า Tagline การทำงานของคำประเภทนี้นั้นมักจะใช้เพื่อบ่งบอกว่าธุรกิจนั้นทำอะไร ให้คนที่เห็นเข้าใจง่ายขึ้นและมองเห็นภาพได้ว่าหากจ่ายเงินมา จะได้อะไรกลับไปไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการนั่นเอง
อย่างไรก็ตามวันนี้เราชวนมาทำความเข้าใจความเหมือนที่แตกต่างระหว่าง Tagline และ Slogan ว่ามีความต่างกันอย่างไร และควรนำไปใช้อย่างไรเพื่อตอบโจทย์ในการสร้างแบรนด์ได้มากขึ้น ถ้าพร้อมแล้วเลื่อนเมาส์ตามมาเลย

Tagline คืออะไร

Tagline คือ กลุ่มคำที่บ่งบอกสิ่งที่ธุรกิจหรือแบรนด์นั้นทำอยู่ โดยส่วนมากจะคิดขึ้นมาพร้อมกับการก่อตั้งธุรกิจหรือแบรนด์นั้น ๆ มาเลยทีเดียวและส่วนใหญ่มักเป็นกลุ่มคำที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ถูกใช้อย่างต่อเนื่องยาวนาน หากมีความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนก็จะต้องบอกให้ชัดเช่นเดิมว่าแบรนด์นั้นทำอะไร ตัวตนของแบรนด์ไปในทิศทางไหน ซึ่งจะสอดผสานไปสู่ภาพลักษณ์ของแบรนด์ในอนาคตอีกเช่นกัน

แน่นอนว่ากลุ่มคำที่ใช้กับแท็กไลน์มักจะเป็นคำที่สร้างภาพชัด เข้าใจง่าย ติดหู ซึ่งหากเลือกคำมาใช้กับแท็กไลน์ได้ดี คุณจะจำชื่อแบรนด์ได้ทันทีโดยไม่รู้ตัว เพียงอ่านแค่แท็กไลน์เท่านั้นเอง เช่น Just do it, I’m lovin’ it, Think different.

mandala banner

Slogan คืออะไร

Slogan คือ กลุ่มคำหรือประโยคที่ใช้ควบคู่กับ ‘สินค้า‘ หรือ ‘แคมเปญ’ ซึ่งแตกต่างจากแท็กไลน์ที่โฟกัสไปที่ตัวแบรนด์อย่างเดียว การใช้สโลแกนมักจะใช้เพื่อเอาไปทำการตลาด ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามสินค้าหรือแคมเปญที่วางกลยุทธ์เอาไว้ ขึ้นอยู่กับการวางแผนของแบรนด์ว่าช่วงนี้อยากจะสื่อสารหรือออกแคมเปญการตลาดเกี่ยวกับสิ่งใด เพื่อทำการตลาดในช่วงเวลาดังกล่าว เช่น ‘Seen it All’ แคมเปญครบรอบ 50 ปี ของ Nike ในปี 2022, Fancy a McDonald’s แคมเปญการตลาดประจำปี 2023, Pay the Apple Way ของ Apple ในปี 2023 เช่นกัน

ซึ่งจะเห็นว่าสโลแกนจะยังคงบ่งบอกการใช้งาน ตัวตนหรืออัตลักษณ์ของแบรนด์ได้ชัดเจนนั่นเอง อย่างไรก็ตามความแตกต่างของคำทั้ง 2 ประเภทนี้สามารถเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดขึ้นได้ดังนี้

Tagline และ Slogan มีความแตกต่างกันอย่างไร

ความแตกต่างของ Tagline และ Slogan คงจะเห็นกันไปบ้างแล้ว หากจะให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นจะขอเปรียบเทียบให้ง่าย ๆ ดังนี้

  • ต้นกำเนิดของแท็กไลน์และสโลแกน

แท็กไลน์ คิดค้นขึ้นมาตั้งแต่ตอนก่อตั้งหรือพร้อม ๆ กับแบรนด์หรือธุรกิจ

สโลแกน คิดค้นมาใช้กับสินค้าหรือบริการเพื่อสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้าหรือผู้บริโภค

  • จุดประสงค์ของแท็กไลน์และสโลแกน

แท็กไลน์ ใช้เพื่อบอกถึงสิ่งที่แบรนด์หรือธุรกิจกำลังทำอยู่ หรือบอกตัวตนของแบรนด์นั้น ๆ

สโลแกน ใช้เพื่อสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้าว่า ณ ช่วงเวลาหนึ่งแบรนด์จะทำอะไร หรือกำลังมีแคมเปญการตลาดเรื่องใด เป็นต้น

  • ลักษณะของแท็กไลน์และสโลแกน 

แท็กไลน์ กลุ่มคำหรือคำที่ใช้จะบ่งบอกถึงอัตลักษณ์ ตัวตนของแบรนด์หรือธุรกิจนั้น ๆ

สโลแกน ใช้กลุ่มคำหรือคำที่ตอบโจทย์การใช้งาน หรือประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับหากใช้สินค้าหรือบริการเหล่านี้

  • ระยะเวลาการใช้แท็กไลน์และสโลแกน 

แท็กไลน์ ใช้กลุ่มคำเดิมในระยะยาว ไม่เปลี่ยนแปลง หรือเปลี่ยนแปลงน้อยมากเพื่อบ่งบอกสิ่งที่แบรนด์ทำ

สโลแกน มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการทำแคมเปญทางการตลาด 

เชื่อว่าเมื่ออ่านจนถึงบรรทัดนี้จะเห็นความแตกต่างระหว่างสโลแกนกับแท็กไลน์ของแบรนด์ที่นำมาใช้ได้ชัดเจนมากขึ้น คลายข้อสงสัยได้ไม่มากก็น้อย หากจะเห็นภาพมากขึ้นขอยกตัวอย่างแท็กไลน์ที่ดีให้ชัดเจนขึ้นอีก

ตัวอย่าง Tagline ที่ดี

การเลือกใช้แท็กไลน์ที่ดีจะมีข้อสังเกตง่าย ๆ ดังนี้

nike just do it

1. อ่านง่าย ฟังง่าย เข้าใจง่าย ใช้คำง่าย ๆ ในการสื่อสารออกมาโดยไม่ต้องตีความหมาย เมื่ออ่านแล้วเข้าใจทันที เช่น Just Do it-Nike

finger lickin kfc

2. ดึงดูดและจดจำได้ง่าย เพราะแท็กไลน์เป็นคำแรกที่กลุ่มเป้าหมายจะได้พบก่อน หากคุ้นหู คุ้นตา จำง่ายก็จะช่วยได้มากขึ้น เช่น Finger Lickin’ Good-KFC

because you're worth it

3. แม่นยำ ชัดเจน ใช้คำที่สื่อสารไปตรง ๆ ชัดเจน ตรงใจผู้บริโภค เช่น Because You’re Worth It-L’Oreal’s

think different

4. สร้างสรรค์ ใช้ความคิดสร้างสรรค์แต่ผู้บริโภคยังคงเห็นภาพธุรกิจหรือแบรนด์ได้อย่างชัดเจน เช่น Think Different-Apple

levi

5. ข้อมูลแน่น ใช้ประโยคหรือคำที่บ่งบอกว่ากลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าจะได้อะไรจากแบรนด์นั้น เช่น Quality Never Goes Out Of Style-Levi’s

red bull

6. นึกถึงผู้บริโภค กลุ่มคำจะให้ความสำคัญกับผู้บริโภค เช่น Gives You Wings-Red Bull

toyota

7. สื่ออารมณ์  ใช้คำที่กระตุ้นอารมณ์และความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อบอกถึงความต้องการของลูกค้า เช่น Let’s go places-Toyota

8. สม่ำเสมอ ใช้กลุ่มคำที่สม่ำเสมอเพื่อตอกย้ำและบ่งบอกถึงตัวตนและอัตลักษณ์ของแบรนด์และเพื่อให้เห็นภาพที่แตกต่างจากสโลแกนการตลาดนั่นเอง

นอกจากตัวอย่างและภาพรวมของแท็กไลน์ที่ดีที่แบรนด์ทั่วโลกได้นำมาใช้กันไปบ้างแล้ว ยังมีแท็กไลน์ของบริษัทหรือแบรนด์ไทยที่น่าสนใจหยิบยกมาเป็นตัวอย่างให้ มีดังนี้

  • หิวเมื่อไหร่ก็แวะมา-7-eleven
  • บริการทุกระดับประทับใจ-ธนาคารกสิกร
  • ฟาร์มเฮาส์-หอมกรุ่นจากเตาทุกวัน
mandala banner

สร้าง Tagline ประโยคฮิตติดหู สื่อสารโดดใจ

หวังว่าหลาย ๆ คนจะเห็นความแตกต่างระหว่าง Tagline และ Slogan ได้มากขึ้น และลดคำถามและข้อสงสัยลง ซึ่งแน่นอนว่ากลุ่มคำที่เลือกใช้กับแท็กไลน์หรือสโลแกนก็มักจะมีความคล้ายหรือใกล้เคียงกัน แต่หากมองและพิจารณาให้มากขึ้นจะเห็นความแตกต่างกันอยู่พอสมควร อย่างไรก็ตามนักการตลาดหรือผู้ที่กำลังสร้างแบรนด์จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับทั้ง 2 คำ เพื่อช่วยยกระดับแบรนด์และสร้างการสื่อสารได้ตรงใจลูกค้ามากขึ้นได้อีกด้วย

  • หมวดหมู่ :
สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.