Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

6 วิธีการเขียนแผนธุรกิจหรือ Business Plan ในปี 2024 [พร้อมตัวอย่าง]

6 วิธีการเขียนแผนธุรกิจหรือ Business Plan ในปี 2024 [พร้อมตัวอย่าง]

การเขียนแผนธุรกิจเปรียบเสมือนการปูแนวทางภาพของธุรกิจโดยรวม เริ่มตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐาน ไปจนถึงการหาจุดอ่อนและการสร้างจุดแข็งให้กับธุรกิจ เรียกได้ว่า Business Plan เป็นตัวแปรสำคัญในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จนั่นเอง วันนี้เลยจะพาเจ้าของธุรกิจทุกคนเรียนรู้ขั้นตอนการเขียนแผนธุรกิจ หรือ Business Plan แบบง่าย ๆ ที่มือใหม่ก็ทำตามได้กัน

Business Plan คืออะไร?

Business Plan หรือแผนธุรกิจ คือการวางกลยุทธ์โดยเอาเป้าหมายขององค์กรเป็นที่ตั้ง หลังจากนั้นก็ทำการลิสต์วิธีการ หรือแผนการทำงานที่จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายนั้น พร้อมกำหนด Timeline ให้ชัดเจนว่าควรจะทำแต่ละอย่างให้เสร็จภายในระยะเวลาเท่าไร เพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่ดีที่สุด

การทำ business plan

การทำ Business Plan จึงสำคัญสำหรับการทำธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง จะเรียกว่าเป็นหัวใจก็ว่าได้ เพราะเป็นเสมือน Roadmap ให้เราเดินตามไปถึงเป้าหมายได้โดยไม่หลุดโฟกัส และวัดผลได้ตามระยะเวลาที่กำหนด

ขั้นตอนการเขียนแผนธุรกิจ (Business Plan) แบบเข้าใจง่าย 

จากที่กล่าวไปข้างต้นจะเห็นได้ว่าแผนธุรกิจนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำก่อนการทำธุรกิจจริง สำหรับใครที่ยังไม่เคยเขียนแผนธุรกิจของตัวเอง ลองเริ่มจาก 6 เทคนิคง่าย ๆ ตามด้านล่างนี้ได้เลย

1. ร่าง Executive Summary

Executive Summary คือสรุปโดยย่อของธุรกิจเรา ซึ่งจะใช้ในการขอทุนจากเหล่านักลงทุน หรือผู้บริหารให้อนุมัติแผนงานของเรา สำหรับใครที่ทำธุรกิจของตัวเองสามารถข้ามการเขียน Executive Summary ไปได้ แต่สำหรับคนที่ทำงานในองค์กรหรือกำลังระดมทุน Startup การเขียน Executive Summary จึงสำคัญถึงขนาดเป็นตัวชี้วัดว่าเราจะเริ่มทำธุรกิจเลยไหมทีเดียว

การเขียน Executive Summary ที่ดี ควรกระชับ ตรงประเด็น และมีหัวข้อเหล่านี้ประกอบอยู่ด้วย

  • ธุรกิจของเราขาย หรือให้บริการอะไร
  • เป้าหมายและวิสัยทัศน์ในการทำธุรกิจ
  • ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการของเรา พร้อมบอกจุดเด่นที่ทำให้เราได้เปรียบคู่แข่ง
  • กลุ่มเป้าหมาย และแผนงานทางการตลาด 
  • สถานการณ์ทางการเงินและรายได้ในปัจจุบัน
  • รายได้ประมาณการในอนาคต หากได้รับเงินทุนหรือการอนุมัติให้ลงมือทำ
  • จำนวนเงินที่ต้องการในการทำธุรกิจ
  • ทีม หรือผู้มีส่วนร่วมในการทำธุรกิจ

2. ร่างวิธีการทำธุรกิจ และเป้าหมายของการทำธุรกิจ

พยายามตอบให้ได้อย่างชัดเจนว่าธุรกิจของเราทำอะไร และมีเป้าหมายจะทำอะไร สองสิ่งนี้จะเป็นพื้นฐานให้เราสร้าง Business Plan ได้อย่างแม่นยำ หัวข้อที่ควรมีได้แก่

  • โครงสร้างธุรกิจ
  • อุตสาหกรรมของสินค้า หรือบริการที่เราจำหน่าย
  • วิสัยทัศน์ อัตลักษณ์ และจุดยืนของแบรนด์
  • สิ่งที่เคยทำมาแล้วประสบความสำเร็จ หรือล้มเหลว
  • เป้าหมายธุรกิจในอนาคต ทั้งระยะสั้นและระยะยาว

ตัวอย่าง

บริษัท A เป็น Startup ขายรองเท้าผ้าใบที่มีจุดเด่นให้ผู้ซื้อสามารถ Customize ได้ตามต้องการ เป้าหมายคือให้ผู้ซื้อบอกเล่าตัวตนผ่านรองเท้าผ้าใบ ซึ่งเป็นสิ่งที่ใส่ติดตัวเป็นประจำได้ และสิ่งนี้เองเป็นจุดเด่นที่ทำให้เราแตกต่างจากตลาดและคู่แข่งทั่วไป จากการทำธุรกิจพบว่าเป็นที่นิยมในกลุ่มชายหญิงในช่วง Gen Z ที่เชื่อในความเป็นปัจเจก และชอบแสดงตัวตนบนโลกโซเชียล แต่ไม่ได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่ม Gen X ที่ชื่นชอบความเรียบง่ายและมีแบรนด์ประจำที่ชอบใส่กันอยู่แล้ว

เป้าหมายธุรกิจในระยะสั้นคือสร้าง Engagement ในหมู่ Gen Z ให้ได้เพิ่มขึ้น 30% ภายใน 6 เดือน และสร้างกำไรเพิ่มเติมจากกลุ่มเป้าหมายให้ได้ 12% ภายในหนึ่งปี 

3. ทำ Market Analysis

การทำ Market Analysis สำคัญต่อการเขียน Business Plan ในแง่การเป็น Logic ของกลยุทธ์ที่จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายธุรกิจที่ตั้งไว้ เพื่อให้เรารู้และตระหนักว่าเป้าหมายนั้นเป็นไปได้หรือไม่ และมีปัจจัยทางการตลาดอื่น ๆ ที่ควรคำนึงถึงหรือไม่ การทำ Market Analysis ประกอบไปด้วย

ในยุคการทำธุรกิจออนไลน์อย่างปัจจุบัน การทำ Market Analysis ที่ดีต้องอาศัยเครื่องมือเทคโนโลยีเข้ามาช่วยประมวลผลข้อมูล เช่น Social Listening Tool ที่ช่วยวิเคราะห์แนวโน้มตลาด คอนเทนต์ของคู่แข่ง และความเห็นของกลุ่มลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ของเรา ทำให้เรามีข้อมูลที่มากพอและแม่นยำที่จะเขียนแผนธุรกิจต่อไปได้

ตัวอย่าง

แบรนด์ A Startup ขายรองเท้าผ้าใบที่มีจุดเด่นให้ผู้ซื้อสามารถ Customize ได้ตามต้องการ ทำ Market Analysis และพบว่ารองเท้าของตัวเองเป็นที่นิยมในช่องทาง TikTok แม้จะมีจุดเสียเปรียบที่ราคาค่อนข้างแพง แต่ผู้บริโภคก็ยังชื่นชอบในคุณภาพ และชอบที่สามารถสร้างสรรค์รองเท้าให้เป็นแบบของตัวเองได้ เมื่อเทียบกับคู่แข่งผ่าน Social Listening Tool แล้วก็ยังไม่พบว่าแบรนด์ของเราด้อยกว่าคู่แข่งในจุดใดอีกนอกจากความแพง แต่ในยุคที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวนัก ก็ทำให้เป็นจุดบอดที่ทำให้กำไร 12% ที่ตั้งไว้เป็นไปได้ยากขึ้น

mandala ai ฟรี

4. ทำ Marketing Plan

หลังจากมีข้อมูลเพียงพอจากการทำ Market Analysis แล้ว ขั้นตอนต่อไปของการเขียน Business Plan ก็คือการสร้างแผนการตลาดที่จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้ การทำ Marketing Plan ที่ดีควรมีข้อมูลเหล่านี้อยู่

  • กลยุทธ์ทางด้านการสื่อสาร
  • กลยุทธ์การซื้อสื่อ
  • กลยุทธ์การทำราคา และโปรโมชัน
  • กลยุทธ์การทำ Market Segmentation

ตัวอย่าง

หลังจากบริษัท A รู้ช่องทางในการสื่อสาร เทรนด์ตลาด และกลุ่มเป้าหมายแล้ว ก็คิดค้นกลยุทธ์ในการทำงานร่วมกับ KOL บน TikTok ที่ตัวแบรนด์ได้รับความนิยมมากขึ้น ในลักษณะของการรีวิว, ทำ Live, และ Affiliate ที่เน้นการทำวิดีโอสั้นเอาใจกลุ่ม Gen Z และใช้เงินซื้อสื่อโฆษณาบน TikTok เพื่อเพิ่มการเข้าถึง และ Engagement

สำหรับราคาและโปรโมชัน บริษัท A ใช้ช่วง Double Digit ในการลดราคาเพื่อขายรองเท้าให้กลุ่มลูกค้าใหม่ และขาย Accessories เพิ่มเติมเพื่อแลกกับคะแนนสะสมสำหรับลูกค้าเก่า ซึ่งแน่นอนว่าจะทำแบบนี้ได้ บริษัท A ได้มีการทำ Market Segmentation ระหว่างลูกค้าใหม่และเก่าเอาไว้แล้ว เพื่อให้คอนเทนต์การตลาดมีความ Personalized ไปกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้น

5. วางกลยุทธ์ด้านการปฏิบัติการ และการขนส่ง

หลังจากได้ Marketing Plan แล้ว ขั้นตอนต่อไปของการทำ Business Plan คือการดูแล Logistics and Operations เพื่อให้แน่ใจว่ามีทรัพยากรเพียงพอรองรับต่อแผนการตลาดที่สร้างมา สิ่งที่ควรพิจารณาได้แก่

  • จำนวนบุคลากรที่มี
  • จุดจำหน่าย
  • การขนส่ง
  • การดูแลบริการหลังการขาย

ตัวอย่าง

หลังจากบริษัท A ทำ Marketing Plan เสร็จแล้ว ก็เริ่มดูจำนวนพนักงาน ว่ามีแอดมินดูแลช่องทางออนไลน์ครบไหม มี Digital Marketer ที่ซื้อสื่อบนช่องทาง TikTok ได้หรือไม่ และมีใครที่จัดการดูแลความสัมพันธ์กับ KOL ทางแบรนด์มีจุดจำหน่ายสินค้าที่เหมาะสมกับช่องทางการตลาดหรือไม่ และเตรียมคนให้พร้อมสำหรับการ Live และการดูแลลูกค้าให้ทั่วถึงหลังการขาย ทำลิสต์ออกมาว่ามีใครที่เกี่ยวข้องบ้าง และต้องทำอะไรบ้าง

6. วางแผนด้านการเงิน

ขั้นตอนสุดท้ายของการทำ Business Plan คือการวางแผนด้านการเงิน เพื่อให้แน่ใจว่าแผนการตลาดที่เราคิดมาเพื่อให้ตอบโจทย์เป้าหมายทางธุรกิจ รวมถึงค่าใช้จ่ายเรื่องบุคลากรและการปฏิบัติการณ์เป็นไปได้จริง และคุ้มค่าที่สุด สิ่งสำคัญที่ต้องมีในการวางแผนด้านการเงิน ได้แก่

  • รายได้ของบริษัท และ Cash flow ในปัจจุบัน
  • คาดการณ์รายรับ-รายจ่าย ของบริษัท
  • งบประมาณที่ต้องใช้เพิ่มเติมในการจัดการทรัพยากร

ธุรกิจของคุณเริ่มทำ Business Plan แล้วหรือยัง 

จะเห็นได้ว่าการวางแผนธุรกิจเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ทั้งสำหรับธุรกิจรายใหญ่หรือรายย่อย จะทำมานานแล้วหรือกำลังเพิ่งเริ่ม โดยในบทความนี้ เราได้รวบรวมเทคนิค และเรียบเรียงเป็นขั้นตอนการทำ Business Plan ทั้ง 6 ขั้นตอนมาให้ทำตามกันได้ง่าย ๆ เริ่มตั้งแต่การเขียนเป้าหมายการทำธุรกิจและการขอทุน ไปจนถึงการทำรีเสิร์ช และแพลนต่าง ๆ จนได้เป็นแผนการทำธุรกิจที่มีความครอบคลุม และทำตามได้จริง

  • หมวดหมู่ :
สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.