Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

B2C (Business to Customer) คืออะไร มีรูปแบบการตลาดแบบไหนบ้าง

B2C (Business to Customer) คืออะไร มีรูปแบบการตลาดแบบไหนบ้าง

ไม่ว่าจะเริ่มทำธุรกิจอะไร สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเข้าใจรูปแบบของธุรกิจที่เรากำลังทำให้ดีเสียก่อน หากเรากำลังขายสินค้าหรือบริการให้กับผู้บริโภคโดยตรง ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า ของใช้ อาหาร ร้านทำผม นั่นเท่ากับเรากำลังทำธุรกิจแบบ B2C (Business to Customer) ซึ่งถือเป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในยุคการตลาดออนไลน์ หรือ E-commerce

วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักธุรกิจ B2C ทั้งในแง่ขอนิยาม ตัวอย่าง ไปจนถึงรูปแบบการตลาด B2C Marketing ต่างๆ ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงครับ

ธุรกิจ B2C คืออะไร

คำว่า B2C ย่อมาจาก Business to Customer คือ คำที่ใช้เรียกธุรกิจที่ขายสินค้าหรือบริการโดยเจ้าของธุรกิจ (Business) ให้กับผู้บริโภครายบุคคล (Customer) เช่นถ้าเราไปซื้อสินค้าจากร้านสะดวกซื้อ ร้านสะดวกซื้อจะทำหน้าที่เป็น Business และเราที่เป็นผู้ซื้อสินค้า จะถูกเรียกว่าเป็น Customer

ธุรกิจ B2C แตกต่างกับ B2B อย่างไร

แน่นอนว่าเมื่อมีธุรกิจที่ขายสินค้าหรือบริการให้กับผู้บริโภคทั่วไป ก็ย่อมมีธุรกิจที่ขายสินค้าหรือบริการให้กับเจ้าของธุรกิจด้วยกันเอง หรือ B2B (Business to Business) เช่น เจ้าของบริษัทนมกล่อง (Business) ขายสินค้าให้กับร้านสะดวกซื้อ (Business) เพื่อนำไปขายต่ออีกทอด

ธุรกิจแบบ B2C และ B2B จึงแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงในแง่ของการทำการตลาด ธุรกิจ B2C จะทำการตลาดเพื่อเจาะกลุ่มผู้บริโภครายย่อยจำนวนมาก ในขณะที่ธุรกิจ B2B จะเน้นการสร้างการตลาดแบบพันธมิตรกับคู่ค้าเฉพาะกลุ่ม ที่มีความต้องการตรงกับสินค้าหรือบริการนั้นๆ

mandala banner

ตัวอย่างธุรกิจ B2C ของประเทศไทย

1. ธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม

การท่องเที่ยวและโรงแรมเป็นฐานธุรกิจ B2C ที่ค่อนข้างใหญ่สำหรับประเทศไทย บริษัททัวร์และเจ้าของโรงแรมทำหน้าที่เป็นเจ้าของบริการ (Business) โดยมีกลุ่มนักท่องเที่ยวเป็นผู้บริโภค ​(Customer) จึงจะเห็นว่าวิธีการโปรโมทจะเน้นสื่อสารกับคนทั่วไป และเข้าถึงได้ง่าย 

2. ร้านค้าออนไลน์

ร้านค้าต่างๆ ใน Online Marketplace อย่าง Shopee หรือ Lazada เป็นตัวอย่างธุรกิจ B2C ที่ใกล้ตัวเรามาก เจ้าของร้านค้าจะลงขายสินค้าหลากหลายรูปแบบ ให้กับเราผู้เป็นผู้บริโภครายย่อยเข้ามาเลือกซื้อ เป็นธุรกิจ B2C ที่ไม่ว่าใครก็สามารถเริ่มลองทำได้ 

3. ร้านเสริมสวย และสถาบันเสริมความงาม

ไม่ว่าจะเป็นร้านสปา ร้านนวด ร้านทำเล็บ ร้านต่อขนตา ร้านทำผม หรือคลีนิกตกแต่งศัลยกรรม ล้วนเป็นธุรกิจแบบ B2C ทั้งสิ้น เพราะเน้นให้บริการบุคคลทั่วไป ไม่ว่าใครก็สามารถเป็นลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการได้

4. ร้านอาหาร

ร้านอาหารเป็นอีกหนึ่งธุรกิจ B2C ที่เราใช้บริการกันเป็นประจำ โดยเจ้าของร้านทำหน้าที่เป็น Business ที่ให้บริการเรา ที่เข้ามารับประทานอาหารในฐานะ Customer

จะเห็นว่าธุรกิจ B2C แทบจะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา และมีวิธีการโปรโมทที่หลากหลายกว่าธุรกิจ B2B มาก ความ Dynamic นี้เองที่ทำให้เราต้องรู้จักเลือกรูปแบบการตลาดให้เหมาะสมกับธุรกิจ B2C ของตัวเอง

รูปแบบการตลาดของบริษัทประเภท B2C

1. สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า

การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า เป็นหัวใจของการทำธุรกิจแบบ B2C เพราะผู้บริโภคต้องมีความสนใจ หรือทัศนคติเชิงบวกเกี่ยวกับสินค้าและบริการของเราก่อนจะตัดสินใจซื้อ และความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแบรนด์และลูกค้า ยังช่วยให้เกิดการแนะนำและบอกต่ออีกด้วย

ตัวอย่างการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้แก่การทำกิจกรรมเพื่อแจกส่วนลดหรือของรางวัล ซึ่งทำให้แบรนด์ต่างๆ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าโดยตรง ส่วนวิธีการจัดกิจกรรมก็มีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการบอกเล่าความประทับใจ, Friend get friend, กิจกรรมแชร์โพสต์ หรือ Top Spending ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ ผ่านโซเชียลมีเดียช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram หรือ Twitter

ตัวอย่างแคมเปญกิจกรรมวันแม่จาก Mcdonald’s

2. สร้าง Branding

นอกจากคุณภาพและราคาของสินค้าแล้ว ผู้บริโภคในยุคปัจจุบันยังให้ความสำคัญกับ Branding ด้วย เราจึงควรสร้างแบรนด์ของเราให้มีความโดดเด่น มี Character ที่น่าสนใจชวนให้ติดตาม หรือมีการเล่าเรื่องราวที่เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการของเราได้

ตัวอย่างการทำ Branding ที่น่าสนใจได้แก่บาร์บีคิวพลาซ่า กับ Mascot บาร์บีก้อนที่ถูกนำมาใช้ในการเล่าเรื่องราวความสุขระหว่างที่ลูกค้าได้รับประทานอาหารด้วยกัน แถมยังมีมาดกวนๆ ไว้คอยสร้างสีสันให้กับแบรนด์ เข้าถึงผู้คนได้ทุกวัย ได้รับความรักจากทั้งเด็กและผู้ใหญ่

ทุกวันนี้เมื่อผู้บริโภคนึกถึงบาร์บีคิวพลาซ่า ก็จะนึกถึงบาร์บีก้อนก่อนเป็นอันดับแรกๆ จนถึงขนาดที่หลายคนใช้คำว่าบาร์บีก้อน แทนบาร์บีคิวพลาซ่าซึ่งเป็นชื่อจริงของร้านอาหารไปแล้ว

bbq plaza

3. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย

เนื่องจากธุรกิจ B2C ต้องสื่อสารกับคนเป็นจำนวนมาก การกำหนดกลุ่มเป้าหมายจึงช่วยให้เราโฟกัสกับกลุ่มผู้บริโภคที่มีแนวโน้มจะกลายเป็นลูกค้าในอนาคตของเราได้มากที่สุด เช่นหากเราขายผลิตภัณฑ์รักษาสิว ก็ต้องปรับวิธีการสื่อสารให้เข้ากับเด็กวัยรุ่น ซึ่งมักมีปัญหาในเรื่องเกี่ยวกับสิวมากกว่าผู้ใหญ่และเด็ก และพัฒนา Content ให้สื่อสารกับพวกเขาให้ได้มากที่สุด อาจมีการใช้ Influencer เข้ามาช่วยโน้มน้าวให้เกิดความรู้สึกร่วมมากขึ้นด้วย

ตัวอย่างการ์นิเย่ กับการใช้ เก้า สุภัสสรา

4. ศึกษากระบวนการตัดสินใจของลูกค้า

การเข้าใจวิธีการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคจะช่วยให้เราเข้าถึงพวกเขาได้ตามแต่ละ sale funnel เช่นหากเราขายเราขายเสื้อผ้า และสังเกตเห็นว่าคนมักชอบซื้อเสื้อผ้าผ่านช่องทางออนไลน์ ก็ควรจะลองเปิดหน้าร้านใน Shopee หรือ Lazada เพื่อให้คนสั่งซื้อสินค้าของเราได้ง่ายขึ้น และสามารถสั่งซื้อได้จากทุกพื้นทั่วประเทศ

shopee lazada

สรุปธุรกิจแบบ B2C

การทำการตลาดสำหรับธุรกิจ B2C มีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับสินค้าและบริการที่ต้องการขาย แต่สิ่งที่เหมือนกันคือเราต้องให้ความสำคัญกับผู้บริโภคเป็นอันดับแรกเสมอ เราต้องรู้จักปรับวิธีการสื่อสาร กลยุทธ์ และการสร้างแบรนด์ให้เป็นไปตามความต้องการของผู้บริโภค เพื่อให้สินค้าและบริการของเราได้รับความนิยมอยู่เสมอครับ

mandala banner
  • หมวดหมู่ :
สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.