Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

TOWS Matrix คืออะไร เครื่องมือวิเคราะห์ต่อจาก SWOT Analysis

TOWS Matrix คืออะไร เครื่องมือวิเคราะห์ต่อจาก SWOT Analysis

นักการตลาดหลายคนคงผ่านเคยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางการตลาดกันดีอยู่แล้วอย่างเครื่องมือ SWOT Analysis วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักและต่อยอดการใช้เครื่องมือ สวอทเพื่อวิเคราะห์ทางการตลาดให้แม่นยำมากขึ้น นั่นก็คือเครื่องมือ TOWS Matrix หากสังเกตดี ๆ จะเห็นว่า SWOT กับ TOWS มีชื่อคล้ายกันเพียงแค่สลับกันแต่วิธีใช้งาน ต่อยอดเครื่องมือเหล่านี้จะเหมือนกันมากน้อยแค่ไหน และจะใช้กับการวิเคราะห์กลยุทธ์ วางแผนการทำตลาดได้อย่างไร นักการตลาดทั้งหลายมาดูไปพร้อมกันได้เลย

ทำความรู้จักกับเครื่องมือ TOWS Matrix

TOWS Matrix คือ กรอบวิธีคิดหากลยุทธ์ที่เหมาะสมกับองค์กรหรือธุรกิจ ซึ่งเป็นการนำมาคิดต่อยอดจากการที่ใช้การวิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อน-โอกาส-อุปสรรคที่เกิดขึ้นในธุรกิจอย่างรอบด้าน เพื่อสร้างเป็นกลยุทธ์ทางเลือกให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ธุรกิจได้เผชิญอยู่

แน่นอนว่าชื่อกลยุทธ์นี้ก็มาจากคำว่า ‘Threat Opportunity Weakness Strength’ นั่นเอง โดยที่สถานการณ์ที่องค์กรหรือธุรกิจจำเป็นต้องวางกลยุทธ์เอาไว้นั้น จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อธุรกิจหรือองค์กรเหล่านั้นเจออุปสรรค วิกฤต หรือปัญหาต่าง ๆ กรอบแนวคิด TOWS จึงจะสามารถนำไปช่วยแก้ปัญหาเหล่านั้นได้นั่นเอง

TOWS Matrix และ SWOT ต่างกันอย่างไร

TOWS Matrix เป็นเครื่องมือที่ต่อยอดมาจาก SWOT Analysis ซึ่ง SWOT Analysis จะช่วยวิเคราห์ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก อุปสรรค และโอกาส โดยปกติแล้วเหล่านักการตลาดจะใช้กรอบความคิดนี้เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นวิเคราะห์ธุรกิจ เมื่อวิเคราะห์จนได้คำตอบแล้ว ก็นำมาสู่การวางกลยุทธ์ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญ คือ TOWS Matrix ที่นักการตลาดที่มีประสบการณ์เลือกใช้เครื่องมือนี้นำมาวางกลยุทธ์เพื่อทำการตลาด ทั้งวางกลยุทธ์เชิงรุก (SO) กลยุทธ์เชิงรับ (ST) กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO) และกลยุทธ์เชิงป้องกัน (WT) ซึ่งใช้เพื่อกำหนดกลยุทธ์จากสิ่งที่วิเคราะห์ เพื่อหาแนวทางทำการตลาด หาโอกาสและหาทางป้องกันเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดในตลาดให้ได้นั่นเอง

ทดลองฟรี mandala

ประโยชน์ของ TOWS Matrix

การวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวพันกับธุรกิจและนำมาต่อยอดในการวางกลยุทธ์ ด้วยเครื่องมือหรือกรอบแนวคิดนี้ทำให้ธุรกิจได้ประโยชน์คือ

1. วางกลยุทธ์ในการขยายตลาดได้อย่างมั่นคง เพราะเป็นการหยิบจุดแข็งมาใช้กับสถานการณ์ที่เป็นปัจจัยบวกให้กับธุรกิจ ก็ทำให้สร้างข้อได้เปรียบและขยายตลาด ซึ่งเป็นผลดีต่อธุรกิจและสร้างโอกาสเป็นแต้มต่อในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. กำหนดแผนวางกลยุทธ์ที่สามารถวัดผลได้ เพื่อป้องกันเหตุการณ์หรือสถานการณ์ ที่อาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเกิดปัญหาจากภายในหรือจากปัจจัยภายนอก เพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดทอนความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจได้

3. พลิกแพลงหรือวางกลยุทธ์ที่ยืดหยุ่นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงหรือคว้าโอกาส จากวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นให้กลับมาเป็นจุดแข็งหรือกลบจุดอ่อนของธุรกิจและเปลี่ยนมาเป็นข้อได้เปรียบในทางธุรกิจได้

4. รับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยการใช้จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบของธุรกิจเอาชนะอุปสรรคหรือปัญหาที่เกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะเกิดจากปัจจัยภายในหรือภายนอกบริษัทเอง

กลยุทธ์ TOWS Matrix

  1. กลยุทธ์เชิงรุก SO (Strength & Opportunity)
    1. เป็นกลยุทธ์ที่นำข้อดีของธุรกิจผสมกับปัจจัยบวกของตลาด ออกมาเป็นกลยุทธ์ที่ดึงเอาศักยภาพและประิสทธิภาพของธุรกิจนั้น ๆ ออกมาใช้ได้อย่างสูงสุด ซึ่งนับเป็นกลยุทธ์เชิงรุกที่เสริมจุดแข็งและเทรนด์ในตลาดที่เป็นแรงส่งให้ธุรกิจสามารถทำกำไรและคว้าโอกาสในตลาดได้อย่างเต็มที่
    2. ตัวอย่างเช่น ธุรกิจมี Know How เกี่ยวกับ AI และตลาดกำลังสนใจเกี่ยวกับ AI สามารถวางกลยุทธ์เพิ่มฐานลูกค้าในตลาดได้
  2. กลยุทธ์เชิงแก้ไข WO (Weakness & Opportunity) 
    1. เป็นกลยุทธ์กลบจุดอ่อนภายในของธุรกิจหรือองค์กร โดยการนำโอกาสทางการตลาดมาใช้หรือการพลิกจุดอ่อนมาใช้เป็นโอกาสในทางการตลาด
    2. ตัวอย่างเช่น ยิมที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศก็ปรับเป็น Hot Yoga Gym และหยิบข้อดีมาใช้คือเหมาะกับการเล่นโยคะร้อน เป็นต้น
  3. กลยุทธ์เชิงป้องกัน ST (Strength & Threat)
    1. เป็นการนำจุดแข็งมาวางเป็นกลยุทธ์เพื่อกลบอุปสรรคที่เกิดขึ้นของธุรกิจ เพื่อใช้ข้อดีเอาชนะอุปสรรคที่เป็นปัจจัยภายนอกนั่นเอง
    2. ตัวอย่างเช่น จุดแข็งคือความเป็นพรีเมียมของสินค้า แต่เทรนด์ธุรกิจเริ่มมีคนสนใจน้อยลง จึงปรับสินค้ามาเป็นระดับพรีเมียม เพื่อเชิญชวนผู้ที่ยังสนใจหรือสร้างโอกาสให้กับลูกค้าได้รับสินค้าระดับพรีเมียมมากขึ้น
  4. กลยุทธ์เชิงรับ WT (Weakness & Threat)
    1. เป็นกลยุทธ์ในการกลบจุดอ่อนหรือข้อจำกัดของธุรกิจพลิกมาเป็นจุดแข็งหรือโอกาสที่ดีได้
    2. ตัวอย่างเช่น ธุรกิจขนาดเล็กจุดอ่อน คือ ยังไม่ได้รับความนิยม และอุปสรรคคือ พนักงานต้องการไปทำงานบริษัทใหญ่ ๆ สามารถเปลี่ยนเป็นจุดแข็งได้ได้ เช่น ธุรกิจขนาดเล็กเป็นโอกาสที่พนักงานทุกคนได้ลองทำสิ่งใหม่ ๆ และสามารถจัดสวัสดิการที่ตอบโจทย์พนักงานรายคน เพื่อดึงดูดในพนักงานได้ เป็นต้น

ตัวอย่างการวิเคราะห์โดย TOWS Matrix

หากวิเคราะห์ธุรกิจ สรุปภาพรวมตลาดและต้องการตัวอย่างวิเคราะห์โดยใช้กรอบ TOWS Matrix การนำกรอบคิดที่ศาสตราจารย์ Heinz Weihrich ที่วิเคราะห์สถานการณ์ของแบรนด์รถยนต์อย่าง Volkswagen ในปี 1973-1975 เพื่อหาคำตอบและกลยุทธ์การได้จากการใช้งานเครื่องมือนี้ ตามภาพด้านล่าง

Source: TOWS matrix – TOWS – The TOWS Matrix – A Tool for Situational Analysis Heinz Weihrich*, Professor of – Studocu

ใช้โมเดล TOWS Matrix วางกลยุทธ์ได้ง่ายมากขึ้น

การวิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อน ปัจจัยต่าง ๆ ของธุรกิจเป็นจุดเริ่มต้นในการเรียนรู้ ทำความเข้าใจธุรกิจได้เป็นอย่างดี แต่หากต้องการนำการวิเคราะห์ไปใช้งานจริงหรือปรับใช้แผนกลยุทธ์ การใช้เครื่องมือนี้ลงไปช่วยกำหนดแผนกลยุทธ์จึงเป็นเรื่องจำเป็นและเป็นแนวทางให้นักการตลาดมีจุดเริ่มต้น เพื่อต่อยอดหรือปรับปรุงแผนการตลาดที่วางไว้ให้กับธุรกิจหรือองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างผลกำไร ขยายตลาดได้ในอนาคต

ทดลองฟรี mandala
สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.